ตามรอย "สุนทรภู่" ครูกลอนแห่งสยาม
เชื่อว่า คนไทยทุกคนคงรู้จักกับชื่อนี้ดี สุนทรภู่ ผู้ที่ทำให้โลกประจักษ์แล้วว่า ภาษาไทยนั้นไพเราะงดงามเพียงใด ในช่งแรกดิฉันได้นำเสนอ บทกลอน ที่ไพเราะ ของท่านไปบ้างแล้ว สำหรับวันนี้ ดิฉันขอนำเสนอให้ทุกท่านได้รู้จัก ท่านสุนทรภู่ มากยิ่งขึ้นค่า
สุนทรภู่ ชื่อนี้พวกเราชาวไทยรู้จักกันดี เพราะท่านเป็นสุดยอดกวีเอกแห่งกรุงสยาม ที่ได้สร้างสรรค์ผลงานบทประพันธ์ทั้งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอนที่มีชื่อเสียงมากมายไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผลงานที่ทรงคุณค่า เนื่องจากบทประพันธ์ของท่านนั้น สะท้อนสภาพของสังคมไทย ในยุคนั้นได้อย่างชัดเจน ทำให้งานนิพนธ์ของสุนทรภู่ ไม่ได้รับความนิยมอยู่แค่ ในยุคสมัยของท่านเท่านั้น แต่ยังได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน และจากผลงานวรรณกรรมที่ทรงคุณค่า องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) จึงยกย่องให้เป็น ?บุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก?
สุนทรภู่ หรือพระยาสุนทรโวหาร มีนามเดิมว่า ภู่ เกิด เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 ที่พระราชวังหลัง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟบางกอกน้อย) ส่วนบิดาไม่ทราบชื่อ รู้แค่ว่าเป็นชาวบ้านกร่ำ อ.แกลง จ.ระยอง ส่วนมารดาเป็นข้าหลวงในพระราชวังหลัง แต่ได้เลิกรากับบิดา ตั้งแต่ท่านเกิดแล้ว ท่านได้รับการศึกษาขั้นแรก ที่พระราชวังหลังและวัดชีปะขาว (วัดศรีสุดาราม) จากนั้นจึงได้เข้ารับราชการ ในตำแหน่งเสมียนระวางกรมพระคลังสวน ด้วยกำลังอยู่ในวัยหนุ่ม ท่านได้ต้องใจผู้หญิงคนหนึ่งชื่อว่า จัน ท่านจึงได้เขียนเพลงยาวส่งให้นางจัน จนบิดามารดาของนางจันจับได้ แล้วนำความไปกราบทูลกรมพระราชวัง ทำให้ท่านและนางจัน ถูกต้องโทษจำคุกในระยะเวลาหนึ่ง เมื่อพ้นโทษออกมา จึงเดินทางไปเยี่ยมบิดาที่เมืองแกลง จ.ระยอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น